วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

อกหัก

ความรู้สึกอกหัก

ทุกคนที่อยู่กับความรัก …มาเป็นเวลายาวนาน มักจะรู้สึกคิดและผูกพันกับอะไรๆ ที่เรียกว่า "รัก" … แววตาอบอุ่น คำพูดหวานๆ เสียงหัวเราะ สดใสของการหยอกล้อแกล้งกัน รวมถึง …การช่วยเหลือ ดูแล ปลอบใจกันและกัน และนั่นคือสิ่งที่สำคัญ ที่ทำให้ความผูกพันมันเกิดมากขึ้น จนกระทั่งเราอาจเริ่มรู้สึกว่า…เราขาดใครอีกคนไปไม่ได้ แต่หากว่า…วันนี้เป็นวันที่คุณกำลังเศร้า เพราะเวลาของการจากลานั้น(ต้อง)มาถึง ทำอย่างไร…คุณถึงจะอยู่ได้ ? ทำอย่างไร…คุณถึงจะเข้าใจการจากลานั้นได้ดี จนไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย… ทุกอย่าง…มันก็ขึ้นอยู่ที่คุณคิด ถ้าคุณอยากคิดว่าเขายังอยู่ … ให้คิดว่า…เขายังวนเวียนอยู่ในโลกนี้ ไม่ได้ไปไหน ไม่ต้องเสียใจให้กับการจากไปของเขาขนาดนั้น แต่ถ้าคุณอยากจะคิดว่า…เขาไปแล้ว ให้คิดว่า…เขาไปจากโลกนี้แล้ว ไม่มีคนชื่อนี้อีกต่อไป… และไม่ต้องเสียใจ ... ให้กับเขาอีกเช่นกัน ไม่ต้องเสียใจ… อาจจะดีก็ได้ที่ไม่มีใคร ให้รักสักช่วงเวลาหนึ่ง เพราะมันอาจทำให้คุณ…เริ่มกลับมาอยู่เพื่อตัวเองอีกครั้ง...


เพลง...ห่างกันสักพัก

ร้องโดย....หวาย







อดีตรัก ที่เคยได้พุกพัง จะไปหวัง ให้หวนคืนอีกทำไม


เพื่อนไม่ทิ้งกัน

เพื่อนถึงเพื่อน
เพื่อนยังไงก้อคือเพื่อน ไม่ว่าวันเวลาจะหมุนเวียน ผ่านไปนานแค่ไหน ก้อไม่สามารถลบเลือนความรู้สึกที่สื่อระหว่างกันได้ อาจจะมีบ้างบางครั้งที่เราอาจหลงลืมความรู้สึกของใครบางคนไป นั่นอาะเป็นเพราะ เราให้ความรู้สึกของคนใหม่ที่ก้าวเข้ามาในชีวิตมากกว่าคนเก่า แต่ขอแค่อย่าลืมว่าตราบใดที่เรายังมีกันและกัน เราไม่มีทางที่จะลืมคนๆนั้นไปชั่วชีวิตหรอก จำไว้แค่ "อาจจะลืมบ้างในบางครั้ง แต่ไม่เคยลืมเลือนในความรูสึกระหว่างกัน"
เพลงเราและนาย







ด้วยความเป็น "เพื่อน" ของเรา ต่างฝ่ายต่างคงเต็มใจที่จะช่วยเหลือ ปลอบโยน หรือให้กำลังใจ อีกฝ่ายหนึ่งเสมอ...และตลอดไป...






วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

ความรัก..แค่..ความผูกพัน
ความผูกพันก็เหมือนกับความรัก หรืออาจจะเป็นผลพวงที่มาจากความรัก หากเรารักใครคนใดคนหนึ่งมากมาก ความสุขที่เห็นเค้าเดินกับคนอื่น... คือ ความรักถ้าคุณเศร้า..เหงา..คิดถึงเค้า..อยากเจอ..อยากพูดคุย... คือ ความรักถ้าคุณร้อนรนที่เค้าอยู่กับใครๆที่ไม่ใช่คุณ... คือ ความใคร่อยากเก็บไว้เป็นเจ้าของคนเดียวถ้าคุณเมามาย..เค้าลูบหลังไหล่..ดูแล... คือ ความรักที่บริสุทธิ์ใจถ้าคุณเมามาย..เค้ากอดและสัมผัสร่างกาย... คือ ความใคร่จากเค้าของคุณถ้าคุณเข้าหา.. แต่เค้าหนี... ... คือ ความใคร่ ที่หมดเยื่อใยแล้วถ้าคุณหนี.. แต่เขาวิ่งตามมา... ... คือ ความรัก ที่ยังไม่มีจุดจบถ้าคุณร้องไห้ให้กับคนที่ไม่มีเยื่อใยในตัวคุณ... คุณคือ คนโง่ และบ้า อย่างน่าอายแต่ถ้าคุณพอใจ..จงรัก..และมอบความรักให้กับเค้า... แม้มันจะไม่กลับมาหาคุณก็ตามจงดีใจที่ได้รักซะวันนี้.. ดีกว่าที่จะมานั่งเสียใจในวันหน้าจงภูมิใจที่มีความใคร่.. เสน่หาเพราะมันจะไม่ย้อนกลับมาหาอีกต่อไป...







เราว่ามันมากกว่าที่ว่าคนสองคนรักกันนะ ถ้าแค่นั้นแต่อยู่ห่างกันจะเรียกว่าแฟนได้เหรอ
ถ้าเค้าสนใจเพื่อนเค้ามากกว่า มากกกกกกก จะเรียกว่าควรจะเรียกว่าเป็นแฟนกันอยู่รึเปล่าขอร้องล่ะ

ใครมีคำแนะนำก็ช่วยแนะนำด้วย





วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

การท่องเที่ยวชุมชน

การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
รายละเอียด

การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
แนวคิดหลักในการบริหารงานวิจัย
การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารจัดการ(Community-based Tourism หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "Host Management") ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเป็นเครือข่ายมากขึ้นทั้งนี้รูปแบบของการจัดการโดยชุมชนถูกคาดหวังว่าเป็นวิธีการจัดการท่องเที่ยวแบบหนึ่งที่มีศักยภาพ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ และสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวในตัวเอง

ในขณะเดียวกันก็เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจชุมชนของคนในท้องถิ่นอีกด้านหนึ่งด้วย นอกจากนี้หากมองในด้านของการตลาดด้วยแล้วปรากฎว่าตลาดของการท่องเที่ยวโดยชุมชนยังเป็นกลุ่มเฉพาะ และบ่อยครั้งคำว่า "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" (Community-Based Tourism) หรือ "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" (Ecotourism) หรือ "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์"(Conservation tourism) และการเรียกชื่ออื่นในลักษณะคล้ายกัน ได้ถูกนำมาใช้เป็นเพียงสื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมภาพพจน์ของการท่องเที่ยว แต่ในทางตรงกันข้ามกลับส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่น

สำหรับประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-9 (พ.ศ.2503-2546) อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักที่สำคัญส่วนหนึ่งของประเทศซึ่งจากตัวเลขของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้ตั้งแต่ปี พ.ศ 2503 - 2546 ได้ทวีจำนวนอย่างเพิ่มสูงขึ้นตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดจากแผนภูมิที่1) อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศ อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการปรับตัวของระบบการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และหากพิจารณาถึงองค์ความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนรวมทั้งกระบวนการบริหารจัดการแล้ว พบว่าหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่ให้การสนับสนุนและใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าว กลับยังมีความไม่ชัดเจนในด้านแนวความคิดและหลักการ วิธีการและกระบวนการ รวมทั้งการบริหารจัดการฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวและการกระจายผลประโยชน์ให้ชุมชนท้องถิ่น จากความสำคัญดังกล่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จึงได้สนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทางเลือกให้กับระบบการท่องเที่ยวแนวใหม่ที่แตกต่างจากเดิม โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบของ"การท่องเที่ยวโดยชุมชน" โดยมุ่งพัฒนาให้ "คนในชุมชน" เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการท่องเที่ยวและไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ได้เน้นถึงการสร้างศักยภาพของคนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ โดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยให้มีความสมดุลกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมรวมทั้งการเกื้อกูลต่อเศรษฐกิจของชุมชนในอนาคต ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่างานวิจัยและพัฒนาที่ดำเนินงานมาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านเป็นการวางรากฐานความรู้และประสบการณ์ที่หน่วยงานด้านนโยบายการท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเชื่อมร้อยและนำไปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวของประเทศได้เป็นอย่างดี




แผนภูมิที่1 แสดงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้ของประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1 -9 (พ.ศ. 2503 - 2546)(ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2547)


นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี 2545 เป็นปีสากลแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งคณะกรรมการของสหประชาชาติได้เรียกร้องให้องค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาล และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนปีสากลแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งประเทศไทยโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กำหนดนโนบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวในทิศทางดังกล่าวให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมอย่างสมดุลมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยว การจัดการรายได้ และการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว สู่คนทุกกลุ่มในชุมชนอย่างเป็นธรรม ดังนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงให้การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเป็นการยกระดับ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" ในมิติของ "การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน" ให้เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่จะสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวของโลกดังกล่าว
"การวิจัยเป็นเครื่องมือ"เพื่อการบูรณาการในระดับชุมชนหรือพื้นที่(Community/Area-Based Approach)ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่เรียกได้ว่าเป็นการทำงานแบบ "ฐานรากขึ้นสู่ข้างบน"
ปี 2541 ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน สกว.สำนักงานภาคได้ตั้งคำถามว่า"ทำอย่างไรจะให้ชุมชนท้องถิ่นได้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน?" ดังนั้นจึงเป็นโจทย์วิจัยของคณะทำงานที่จะต้องแสวงหาวิธีการสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ในมิติต่างๆและเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนโดยใช้"การวิจัยเป็นเครื่องมือ"เพื่อการบูรณาการในระดับชุมชนหรือพื้นที่(Community/Area-Based Approach)ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่เรียกได้ว่าเป็นการทำงานแบบ "ฐานรากขึ้นสู่ข้างบน" อย่างแท้จริงเพราะโจทย์ของการทำงานวิจัยและพัฒนามิได้เกิดวางไว้ก่อนเช่นเดิม แต่เป็นการพัฒนาโจทย์วิจัยที่มาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งนี้เพื่อให้งานวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นงานเชิงปฏิบัติการของชุมชนเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในตัวกระบวนการเองโดยไม่ต้องไถ่ถามว่าใครจะได้อะไรจากงานวิจัยนี้และทั้งกระบวนการอาจเรียกรวมได้ว่าเป็น"กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน" โดยผ่านกระบวนการวิจัย ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านโครงการวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงถือได้ว่า เป็นทางเลือกหนึ่งที่ชุมชนจะแสวงหาองค์ความรู้ของตนเองเพื่อเป้าหมายในการเข้าไปช่วยจัดการกับสภาพของปัญหาด้านทรัพยากร ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชนที่เคยมีมาตั้งแต่อดีต และในปัจจุบันได้ถูกมองข้ามและเปลี่ยนแปลงไป จากการดำเนินงานที่ผ่านมา 5 ปี พบว่าการมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยของชาวบ้านมีหลายระดับตามความเข้มข้น (ภาพที่ 1) ตั้งแต่การเป็นผู้ "ถูกวิจัย" (ปลายซ้ายสุด) ซึ่งเป็นภาพในอดีต ไปจนถึงการคิดงานวิจัยเอง ทำงานวิจัยเองได้ (ปลายขวาสุด) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในอนาคต แต่ในปัจจุบันรูปธรรมชัดเจนที่มักพบคือชาวบ้านได้เข้า "ร่วม" เป็นผู้วิจัย "ร่วม" ตัดสินใจในกระบวนการวิจัย เลือกวิธีการแก้ปัญหาของตนเอง โดยมีคนภายนอกเป็นพี่เลี้ยงและให้การสนับสนุนด้านวิชาการและวิธีการร่วมกันจัดการอยู่บางส่วน อย่างไรก็ดีสถานภาพที่ว่านี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางขวาเรื่อยๆ เมื่อชาวบ้านมีประสบการณ์และความชำนาญมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากความเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของเครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค
การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ผ่านกระบวนการจัดการของเครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยท่องเที่ยวโดยชุมชน

การสนับสนุนให้ชุมชนดำเนินการวิจัยด้านการท่องเที่ยว สามารถสรุปประสบการณ์การจัดการงานวิจัยดังนี้
(1) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทของพื้นที่แหล่งทรัพยากรอันหลากหลายของชุมชน การพิจารณาการใช้ประโยชน์ในประเด็นนี้เป็นการเน้นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติเป็นหลักมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมถึงแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศในพื้นที่ ดังนั้น การท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงตั้งอยู่บนฐานคิดที่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการผสมผสานจุดมุ่งหมายของการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อม รวมทั้งอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของชุมชนอันมีวิถีชีวิตและจารีตประเพณีแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายให้คนในชุมชนรู้จักการสร้างสำนึกท้องถิ่น เร่งเร้าความภาคภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมประเพณีของตน รวมทั้งสามารถให้คำอธิบายกับคนนอกหรือนักท่องเที่ยวได้รับรู้ และเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ว่ามีความสวยงามและมีคุณค่าอย่างไร ตลอดจนการสื่อให้เห็นพัฒนาการของวัฒนธรรม จารีตประเพณีทั้งนี้เพื่อให้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การเคารพต่อความเชื่อ ศักดิ์ศรีและสิทธิในการเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ วัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมของชุมชน
(2) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทของการบริหารจัดการโดยชุมชน การพิจารณาการใช้ประโยชน์ในประเด็นนี้เน้นการจัดการท่องเที่ยวบนเงื่อนไขของการจัดการที่มีความรับผิดชอบที่จะช่วยกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งนี้มุ่งให้มีการจัดการที่ยั่งยืนครอบคลุมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันและกำจัดมลพิษ การจัดการสมรรถนะของการรองรับในระบบนิเวศ รวมทั้งการควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีขอบเขต โดยเน้นภายใต้เงื่อนไขของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับธรรมชาติในฐานะเป็นวิถีชีวิตที่เกื้อกูลในระบบนิเวศเดียวกันภายใต้หลักการที่ว่าคนที่ดูแลรักษาทรัพยากรย่อมสมควรได้รับประโยชน์จากการดูแลรักษานั้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยกันประชาสัมพันธ์และเสนอแนวคิดในการเคลื่อนไหวให้นักท่องเที่ยวได้เป็นผู้เข้าร่วมขบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและการกระจายผลประโยชน์ที่เกื้อหนุนกันระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวกับความต้องการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
(3) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทของกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมการท่องเที่ยว การพิจารณาการใช้ประโยชน์ประเด็นนี้เป็นการเน้นให้มีการสร้างระบบการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมการให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการเรียนรู้ในวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันหลากหลาย ตลอดจนความเป็นชาติพันธุ์ อันเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ และสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องให้กับนักท่องเที่ยว ให้กับประชาชนท้องถิ่นและผู้ประกอบการ ทั้งนี้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาจนำไปสู่การสร้างกระบวนการทางสังคมที่ชุมชนท้องถิ่นมีความพยายามในการปรับตัว ภายใต้บริบทของสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการสร้างดุลยภาพระหว่างการผลิตในภาคเกษตรกรรมกับการประกอบอาชีพของชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับฐานทรัพยากรของชุมชน ตลอดจนการรวมตัวกันเพื่อต่อสู้การเอารัดเอาเปรียบของบริษัทนำเที่ยวจากภายนอก อย่างไรก็ดีในส่วนของกิจกรรมการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนั้น สกว.สำนักงานภาคและกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ได้ร่วมกันสร้างเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้ได้พิจารณาเห็นว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคตนั้น ไม่อาจจำกัดตัวเองอยู่แต่เพียงชุมชน หมู่บ้าน แห่งใดแห่งหนึ่งอย่างโดดๆ ได้ แต่พยายามให้มีการรวมตัวกันของชุมชนท่องเที่ยวหลายๆ แห่ง และสร้างเครือข่ายการจัดการทรัพยากรหรือจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวร่วมกันเพื่อให้การบริการและมุ่งให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ในการจัดทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นและแหล่งท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน
(4) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการตัวเอง การพิจารณาการใช้ประโยชน์จากการวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านนี้ เป็นการคำนึงถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น และหมายความรวมถึงการกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการได้รับผลตอบแทนโดยมีจุดหมายปลายทางในการกลับมาบำรุงดูแลรักษา และจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติชุมชนท้องถิ่นเองก็สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการควบคุมการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของการท่องเที่ยวของตนเองได้ โดยเริ่มต้นจากชุมชนระดับรากหญ้า จนถึงองค์กรการปกครองท้องถิ่น และอาจรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอีกด้วย
(5) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในฐานะกลไกการพัฒนาชุมชน การพิจารณาการใช้ประโยชน์ในบริบทนี้ เป็นความพยายามจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรชุมชนท้องถิ่นควบคู่กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดังนั้นการสนับสนุนโครงการวิจัยแบบนี้เป็นความพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชน ถือได้ว่าเป็น "เครื่องมือและกลไกของชุมชนท้องถิ่น" ในฐานะที่เป็นกระบวนการแสวงหาทางเลือกเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรม จารีตประเพณีอันหลากหลายของชุมชน และกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยยังให้ความสำคัญต่อความพยายามในการอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความจำเป็นที่จะต้องมองให้เห็นถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองและสภาพแวดล้อมธรรมชาติซึ่งสัมพันธ์กับเงื่อนไขภายนอกในระดับภาคและระดับมหภาคที่สามารถเชื่อมโยงปรากฏการณ์ในท้องถิ่นกับเงื่อนไขภายนอกและยังช่วยชี้ให้เห็นทิศทางของการพัฒนาประเทศที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นอย่างชัดเจน
(6) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในฐานะของการสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชน การพิจารณาการใช้ประโยชน์ในบริบทนี้เป็นการย้อนกลับไปพิจารณาปัญหาของสังคมของชุมชนซึ่งอาจพบว่าชุมชนท้องถิ่นหลายแห่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤต ในด้านของความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและความยากจน ดังนั้นการพิจารณาประเด็นนี้จึงเป็นความพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถเป็นคำตอบส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยพิจารณาการท่องเที่ยวในฐานะของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กองทุนชุมชน การพัฒนาอาชีพและฝีมือแรงงาน หัตถกรรมพื้นบ้าน เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ รวมทั้งการพลิกฟื้นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในด้านการเชื่อมต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้การท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของทางเลือกใหม่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างหลากหลาย
(7) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในฐานะของการเสริมสร้างความเข้มแข้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาพความเป็นจริงของการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวก็คือการที่ภาคเอกชนบางแห่งบางจังหวัดได้มีบทบาทเข้ามาผูกขาดธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเน้นการสร้างรายได้และความเจริญเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว และบางครั้งด้วยความไม่เข้าใจในเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมถึงแหล่งวัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศในพื้นที่ การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อการทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่นรวมทั้งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันเนื่องจากชุมชนท้องถิ่นขาดอำนาจในการจัดการท่องเที่ยวของตน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเข้ามากำหนดบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้เข้ามามีส่วนสำคัญร่วมกับภาคประชาชน ในการจัดการและหารูปแบบของการท่องเที่ยวในบริบทของชุมชนท้องถิ่น อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในระดับล่าง รวมทั้งระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างมากขึ้น
กระบวนการการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยท่องเที่ยวโดยชุมชนกระบวนการบริหารจัดการงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้แบ่งเป็น 3 ช่วงที่สำคัญอันประกอบด้วยกระบวนการประสานงานต้นทาง กลางทางและปลายทาง (ดูรายละเอียดจากภาพที่ 2) โดยมุ่งหวังว่างานวิจัยจะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด กล่าวคือกระบวนการประสานงานวิจัยต้นทาง เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการทำให้เกิดโครงการวิจัยจากชุมชน ซึ่งมีที่มาหลากหลายเส้นทางเช่น การประกาศโจทย์วิจัย การแนะนำชักชวนชาวบ้านร่วมกันทำ การมีผู้สนใจอยากเรียนรู้ร่วมกันทำ รวมทั้งการการส่งต่อจากศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทั่วประเทศ หลังจากได้รับข้อเสนอการวิจัยแล้วจะเป็นการวิเคราะห์โครงการเบื้องต้นเพื่อพัฒนาให้เป็นโครงการโดยสมบูรณ์เพื่อดำเนินการลงนามทั้งสองฝ่ายให้ดำเนินงานวิจัยต่อไป ส่วนกระบวนการประสานงานวิจัยกลางทาง ช่วงนี้เป็นกระบวนที่มีความสำคัญโดยเฉพาะบทบาทของพี่เลี้ยงที่เข้ามาร่วมและช่วยกันดำเนินงานตามแผนงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีหนุนเสริมแนวคิด เครื่องมือวิจัย และกระบวนการวิจัยเพื่อให้งานวิจัยได้ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และตามเจตนารมณ์ของชุมชนที่ประสงค์จะให้"งานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของผู้คนในชุมชน" สำหรับกระบวนการประสานงานวิจัยปลายทาง นั้นมีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกับงานวิจัยได้ใช้ประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัย ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว"งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมิติการท่องเที่ยวโดยชุมชน" นั้นเป็นการใช้ประโยชน์ในตัวของเนื้องานเองอยู่แล้วด้วยเหตุที่เป็น"งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ" แต่การมาเน้นกระบวนการปลายให้เข้มข้นขึ้นอีกนั้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัยเพื่อการต่อยอดกับองค์กรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ดร.สินธุ์ สโรบลผู้ประสานงาน สกว. สำนักงานภาคและเครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนsinth@vijai.org
แหล่งที่มา
: ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 57 หน้าที่ 15-21
ข่าววันที่ : [5-ต.ค.-2004] จำนวนคนเข้า : 13665

เลือกเสื้อผ้าตามราศี

ซื้อเสื้อผ้าตามราศี

อยากลดน้ำหนัก,ลดสัดส่วน,ไขมันส่วนเกินลดได้ 5-8 กก. ใน 1 เดือนสนใจสมัครลดได้ที่ http://www.fit.visit.ws/



  • ราศีมังกร หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 16 มกราคม-12 กุมภาพันธ์
    สาวราศีมังกรเป็นผู้ที่มีท่าทางสงบเสงี่ยม มีความสุขุมรอบคอบ ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย ขยัน ชอบทำงานเป็นที่สุด ดังนั้น เสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ ของคุณจะต้องดูทะมัดทะแมง ใส่สบาย คุณจะชอบเป็นที่สุดหากชุดเสื้อผ้าที่ใส่ทำงานมีความคล่องแคล่วมากเป็นพิเศษ สีที่เหมาะกับสาวราศีมังกร คือสีที่ดูขรึมไม่ฉูดฉาด อย่างเช่น สีดำ สีน้ำตาล สีเทา เป็นต้น

  • ราศีกุมภ์ หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์-13 มีนาคม
    สาวราศีนี้เป็นผู้รอบรู้ และสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่างๆ รอบตัว ชอบการคบค้าสมาคม มีเสน่ห์และมีอารมณ์สนุกสนาน ชอบการแต่งกายที่มีสไตล์ไม่ซ้ำใคร สาวราศีนี้ชอบชุดทำงานที่ดูดีมีสง่า และเหมาะกับตัวเองที่สุด สีที่เหมาะกับสาวราศีนี้คือ สีที่เกี่ยวกับความฉลาดและความนึกคิด อย่างเช่น สีเหลืองของความสดใส และสีม่วง

  • ราศีมีน หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 14 มีนาคม-12 เมษายน
    สาวราศีมีน เป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์และใจบุญ แต่เป็นสาวช่างเพ้อฝันและโรแมนติก คุณสามารถใส่เสื้อผ้าได้หลากหลายแบบ แต่มักจะชอบผ้าที่เป็นลูกไม้ หรือมีโบ และผีเสื้อประดับอยู่ สีที่เหมาะกับสาวราศีปลามากที่สุดก็คือ สีเขียว และน้ำเงินของ ท้องทะเล หรือสีม่วงสำหรับผู้รักสงบ

  • ราศีเมษ หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 13 เมษายน-13 พฤษภาคม
    สาวชาวแกะทั้งหลายมีนิสัยกระตือรือร้นมาก และต้องการที่จะเป็น ที่หนึ่งในทุกเรื่องเสมอ ดังนั้น คุณจึงกล้าที่จะเด่นทุกเรื่อง คุณกล้าใส่ เสื้อผ้าแทบทุกสไตล์ และชอบติดตามกระแสแฟชั่นใหม่ๆ เสมอ บางทีคุณก็อาจจะกล้าลุกขึ้นมาเป็นผู้นำแฟชั่นเองก็ได้ สีที่เหมาะกับสาวราศีเมษคือ สีโทนดำและแดงที่จะช่วยเสริมความร้อนแรงในตัวคุณ

  • ราศีพฤษภ หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม-13 มิถุนายน
    สาวราศีพฤษภเป็นสาวที่มีความมั่นใจในตัวเองเสมอ นอกจากนั้น ยังเป็นสาวที่คิดอะไรอย่างมีเหตุมีผล ส่วนใหญ่สาวราศีพฤษภมักประสบ ความสำเร็จในหน้าที่การงาน สาวราศีนี้มักไม่นิยมแฟชั่นใหม่ๆ ที่ดูฉาบฉวย แต่คุณจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีความประณีตในการตัดเย็บและดูภูมิฐาน และต้องเป็นแบบที่ดูดีไม่มีที่ติ ดูมีรสนิยม เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น สีที่เหมาะกับสาวราศีพฤษภคือสีในโทนเรียบอย่าง สีน้ำตาล เบจ ขาวและดำ

  • ราศีเมถุน หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน-14 กรกฎาคม
    สาวราศีเมถุนเป็นสาวที่เหมือนมีสองบุคลิกในร่างเดียวกัน กล่าวคือ อย่างหนึ่งคือ ทำงานเก่ง แต่อีกร่างหนึ่งก็คือชอบท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ สาวราศีเมถุนเป็นสาวมั่นที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง ในขณะเดียวกันก็กระชับกระเฉงว่องไว ถึงแม้การแต่งตัวจะดูเรียบ แต่ถ้าสาวราศีเมถุนนึกอยากจะใส่อะไรที่แปลกใหม่ก็ลุกขึ้นมาใส่โดยไม่ลังเล ตามสไตล์สาวยุคใหม่ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง สีที่เหมาะกับสาวราศีเมถุนคือ สีส้มที่จะช่วยกระตุ้นความคิดและความกระตือรือร้นให้สาวราศีน

  • ราศีกรกฎ หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม-16 สิงหาคม
    สาวราศีกรกฎเป็นสาวแสนอ่อนไหว มีความอบอุ่น ช่างคิดฝัน โรแมนติก กล่าวคือมีความเป็นศิลปินสูง สไตล์การแต่งตัวของสาวราศีนี้เน้นความเบาสบายในการสวมใส่เป็นหลัก ดูเป็นธรรมชาติ และมีความเป็นศิลปินไม่ตามแฟชั่นมากนัก นอกจากนั้นสาวราศีนี้ชอบใส่เสื้อผ้าที่มีลายลูกไม้น่ารักๆ ประดับอยู่ หรือชอบใส่กางเกงผ้าบางๆ พลิ้วๆ สีที่เหมาะกับสาวราศีกรกฎคือ สีน้ำเงินหรือสีเขียว ที่ช่วยคุมอารมณ์ที่อ่อนไหวของคุณไม่ให้อ่อนไหว จนเกินไปนัก

  • ราศีสิงห์ หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม-16 กันยายน
    สาวราศีสิงห์ เป็นสาวที่มีนิสัยร่าเริง เปิดเผย ชอบแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเองสูง เป็นสาวเสน่ห์แรง ติดเป็นคนมีเพื่อนมาก การแต่งตัวของสาวราศีสิงห์นั้นโปรดปรานที่สุดคือเสื้อผ้าที่นุ่มใส่สบายและดูสง่า หรูหรา สาวราศีนี้เป็นสาวที่ตามแฟชั่นไปอย่างติดๆ แต่ก็ไม่ตามแฟชั่นจนเกินไปนัก กล่าวคือถ้าสวมใส่ออกมาแล้วสาวราศีนี้ต้องออกมาดูดีด้วย นอกจากนั้นสาวราศีนี้เป็นคนเจ้าระเบียบ กล่าวคือคุณจะไม่ใส่เสื้อผ้าปนกัน เสื้อทำงานก็คือใส่ไปทำงานเท่านั้น ไม่มีการใส่ปะปนกับชุดใส่เล่น สีที่เหมาะสมกับราศีนี้คือ สีแดง เหลืองหรือส้มที่เหมาะกับคนกล้าแสดงออก
  • ราศีกันย์ หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 17 กันยายน-16 ตุลาคม
    สาวราศีกันย์เป็นหญิงสาวที่แสนหวาน และละเอียดรอบคอบ เรียบร้อยเข้ากับคนง่ายและมีเมตตา ชุดที่สาวราศีนี้เลือกใส่จะต้องเป็นชุดที่รีดเรียบ สะอาดเรียบร้อย มีลักษณะหลวมๆ ใส่สบาย ไม่คับจนเกินไป สีที่เหมาะกับสาวราศีกันย์ คือ สีเอิร์ธ โทน อย่างเช่น สีน้ำตาล ครีม หรือสีที่ดูหวานและเรียบร้อยอย่างสีชมพู

  • ราศีตุล หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม-16 พฤศจิกายน
    สัญลักษณ์ของราศีนี้คือตาชั่ง ดังนั้น สาวราศีตุลจึงเป็นสาวที่มีเหตุมีผล มีลักษณะของปัญญาชน รักความยุติธรรมเป็น ที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็อ่อนโยน มองโลกในแง่ดี สาวราศีนี้ไม่เคยลังเลในการแต่งตัว นอกจากนี้ สาวราศีนี้ยังรักการช็อปปิ้งและมีรสนิยมในการแต่งตัว ดังนั้น คุณจึงเลือกใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับทุกอย่างได้อย่างลงตัว สีที่เหมาะกับสาวราศีตุลคือ สีในโทนโรแมนติกอย่างชมพู และสีในโทนเย็นอย่าง สีน้ำเงินและสีฟ้า
  • ราศีพิจิก หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน-15 ธันวาคม
    สาวราศีแมงป่องเป็นสาวที่มีความหยิ่งทะนงในจิตใจ รักเกียรติ ไว้ตัว และไม่ชอบการอยู่ใต้บังคับบัญชา สาวราศีนี้เป็นสาวลึกลับและเจ้าเสน่ห์ สาวราศีนี้ชอบใส่เสื้อผ้าแบบยาวๆ พลิ้วๆ ที่ทำจากผ้าไหม ให้ดูเซ็กซี่ สาวราศีนี้ยอมลงทุนกับเสื้อผ้าที่ใส่ไปทำงานมากกว่าเสื้อผ้าที่ใส่ในกรณีอื่นๆ สีที่เหมาะกับสาวราศีพิจิกมากที่สุดคือ สีแดงเข้ม น้ำเงินหรือดำ เพราะจะยิ่งทำให้สาวราศีนี้ดูลึกลับ แต่ก็แฝงความร้อนแรงอยู่ในตัว

  • ราศีธนู หรือผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม-15 มกราคม
    สาวราศีนี้เป็นนักบุญแห่งจักรราศี ใจกว้าง ใจดี ซื่อสัตย์ หลงใหลในกิจกรรมกลางแจ้ง กระตือรือร้นเป็นที่สุด เสื้อผ้าที่เหมาะกับสาวราศีนี้คือ เสื้อผ้าที่ดูคล่องตัวออกแนวสปอร์ตนิดๆ ส่วนผ้าที่สาวราศีนี้ชอบสวมใส่มากได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ที่ทำจากธรรมชาติ สีที่เหมาะกับสาวราศีธนูคือ สีม่วง ที่เข้ากับความคิดในแง่บวก สีเขียวของธรรมชาติ และสีเหลืองดูสดใส

++ เทรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น สไตล์เกาหลี






ที่มา http://www.ky.ac.th/~patteera/page12.htm